วันเสาร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2556

สรุปวิจัย เรื่องที่5

การจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยที่มีผลต่อทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

                                 ปริญญานิพนธ์
                                     ของ
                              ศิริลักษณ์   วุฒิสรรพ์

ความมุ่งหมาย
การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อศึกาาและเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยดังนี้
1.เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยรวมของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย
2. เพื่อศึกษ่และเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์รายด้านของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย
ความสำคัญของวิจัย
   การวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้นำรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเด็กวิจัย มาใช้ในการจัดประสบการณืสำหรับเด็กปฐมวัยเพื่อเปิดโอกาสให้เด็กได้พัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ผลการวิจัย ในครั้งนี้จะเป็นแนวทางให้กับครูและผู้ที่เกี่ยวข้อง นำไปพัฒนาเดกปฐมวัยให้มีความพร้อมทางทักษะด้านคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัยและพัฒนาทักษะที่เป็นพื้นฐานในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ในระดับขั้นที่สูงต่อไป และสามารถไปปรับใช้ เชื่อมโยงกับทักษะอื่นๆต่อไป
อภิปรายผล
   การวิจัยครั้งนี้มีจุดหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยรวมและรายด้านของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบนักวิจัยปรากฎผลดังนี้ เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยรวมและรายด้านทุกด้านสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญที่สถิติ.0000 ซึ่งสอดคล้องกับสมมุติฐานของการวิจัยครั้งนี้
ขัอเสนอแนะ
1. ควรมีศึกษา วิจัยทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยในห้องเรียนสองกลุ่มอายุโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเด็กวิจัย
2. ควรศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบเด็กวิจัยในห้องเรียนรวม
3. ควรมีการศึกษา วิจัยการเรียนรู้แบบเด็กวิจัยที่มีผลต่อการพัฒนาการด้านอื่น เช่น ด้านพฤติกรรมการร่วมมือ ด้านความเชื่อมั่น
4. ควรมีการศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบเด็กวิจัย

สรุปวิจัย เรื่องที่4

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคอมสตัคติวิสต์โดยผ่านกิจกรรมการเคลื่่อนไหวและจังหวะที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

                       ปริญญานิพนธ์
                            ของ
                   ปาริฉัตร   ผลเจริญ

จุดหมาย
เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคอนตรัคติวิสต์โดยผ่านกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ
ความสำคัญ
   การวิจัยในครั้งนี้เป็นแนวทางให้ครูปฐมวัยและผู้เกี่ยวข้อง หรือผู้ที่สนใจแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ได้ตระหนักถึงผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตริคติวิสต์โดยผ่านกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ ในการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์แก่เด็ก และเพื่อเป็นแนวทางการใช้แนวคอนสตรัคติวิสต์ให้เด็กเกิดการเรียนรู้เบื้องต้นและใช้ความรู้เบื้องต้นดังนั้นในการเรียนรู้สิ่งใหม่ สามารถนำไปปรับหรือเชื่อมโยงกับเนื้อหาในทักษะอื่นๆต่อไป
สรุปวิจัย
เด็กปฐมวัยได้รับการจัดกิจกรรมตามแนวคอนสรัคติวิสต์โดยผ่านการเคลื่อนไหวและจังหวะมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยภาพความสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.001 และเมื่อจำแนกเป็นรายด้านและรายบุคคล พบว่าเด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ในทักษะการจะแนกประเภท ด้านความเหมือน ความต่าง การเรียงลำดับ ตำแหน่ง ระยะทาง หลังการทดลองสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญ และในทักษะการเปรียบเทียบด้านขนาดและรูปร่าง สูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญ
ข้อเสนอแนะ
1. ในการเลือกอุปกรณ์ที่ใช้ในการวิจัยต้องคำนึงถึง จุดมุ่งหมายสำคัญและทักษะที่ต้องการเน้นให้สอดคล้องกัน และเป็นไปตามที่กำหนดในเงื่อนไขเมื่อมีการแบ่งกลุ่ม แช้น การกำหนดเงื่อนไขได้แล้วว่าจะแบ่งกลุ่มเท่าไร อย่างไรแล้ว จะต้องเตรียมและจัดอุปกรณ์ให้ถูกครบถ้วนตามขั้นตอนของการจัดกลุ่ม
2. การกำหนดเงื่อนไขต่างๆ หรือสถานการณ์ปัญหาต่างๆ ควรคำนึงถึงวุฒิภาวะของเด็กหรือความสามารถตามวัยของเด็ก ไม่ยุ่งยากหรือซับซ้อนเกินไปแต่ไม่ง่ายเกินไป ควรมีความท้าทาย ยั่งยุให้เด็กอยากรู้ อยากทดลอง

สรุปวิจัย เรื่องที่3

ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การ เล่นน้ำ เล่นทราย

                        ปริญญานิพนธ์
                             ของ
                       รัชนี   สมประชา

ความมุ่งหมาย
     เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ระหว่างเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดแระสบการณ์การเล่นน้ำ เล่นทราย กับเด็กปฐมวัยที่ไม่ได้รับประสบการณ์การเล่นน้ำ เล่นทราย
ความสำคัญ
1. เพื่อให้ครูศึกษานิเทศก์และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กปฐมวัยได้เห็นถึงความสำคัญและประโยชน์ของการจัดกิจกรรมการเล่นน้ำ เล่นทราย ที่มีต่อเด็กปฐมวัย
2.เพื่อเป็นแนวทางแก่ครูและผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยในการจัดประสบการณ์การเล่นน้ำ เล่นทราย ให้แก่เด็ก
วิเคราะห็ข้อมูล
1. หาค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ คะแนนเฉลี่ยและค่าความแปรปรวน
2.เปรีบยเทียบคะแนนเฉลี่ยความสามารถทางทักษะคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยระหว่างกลุ่มที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเล่นน้ำ เล่นทราย กับเด็กปฐมวัยที่ไม่ได้รับการจัดประสบการณืการเล่นน้ำ เล่นทราย โดยการทดสอบค่าที
สรุปผลวิจัย
    จาการศึกษาสามารถทางทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์เล่นน้ำ เล่นทราย กับเด็กปฐมวัยที่ไม่ได้รับการจัดประสบการณ์การเล่นน้ำ เล่นทราย พบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณืมีความสามารถทางทักาะคณิตศาสตร์แตกต่างกัน กล่าวคือ เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณื มีระดับคะแนนเฉลี่ยจากการทดลองทักษะทางพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ด้านการสังเกตจำแนกการเปรียบเทียบสูงกว่าเด็กที่ไม่ได้รับการจัดประสบการณ์

สรุปวิจัย เรื่องที่2

ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการสาน

                   ปริญญานิพนธ์
                      ของ
                  วันดี  มั่นจงดี

ความมุ่งหมาย
  การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์สำคัญเพื่อศึกษาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการสาน โดยกำหนดเป็นจุดมุ่งหมายเฉพาะ
1. เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการสาน
2. เพื่อศึกษาระดับของทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังที่ได้รับการจัดกิจกรรมการสาน
ความสำคัญ
     ผลของการศึกษาวิจัยครั้งนี้ จะเป็นแนวทางให้กับครูและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาปฐมวัยได้ตระหนักได้เข้าใจถึงความสำคัญในการจัดกิจกรรมการสาน เพื่อส่งเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยอย่างมีความหมายและเกิดประโยชน์ สามารถนำกิจกรรมการสานไปใช้พัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ รวมทั้งนำผลของการศึกษาวิจัยไปใช้ในการพัฒนาเด็กปฐมวัยได้อย่างดี
สมมุติฐานในการวิจัย
เด็กปฐมวัยได้รับการจัดกิจกรรมการสาน มีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สูงขึ้น กว่าก่อนการทดลอง
สรุปผลวิจัย
1. ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ทั้งโดยรวมและรายด้านของเด็กปฐมวัยหลังการจัดกิจกรรมการสานสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมการสาน อย่างมีนัย
2. เด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ก่อนการทดลอง  ทั้งโดยรวมและรายด้านในระดับพอใช้

สรุปวิจัย เรื่องที่1

            ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมโดยรูปแบบพหุปัญญาเพื่อการเรียนรู้
                          ปริญญานิพนธ์
                             ของ
                     แสงเดือน   วิมลรัตน์

ความมุ่งหมาย 
    ในการวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อศึกษาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่เป็นผลจากการจัดกิจกรรมโดยใช้รูปพหุปัญญาเพื่อการเรียนรู้ โดยมีจุดหมายเฉพาะ ดังนี้
1. เพื่อศึกษาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย  ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมโดยใช้รูปแบบพหุปัญญาเพื่อการเรียนรู้
2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมโดยรูปแบบพหุปัญญาเพื่อการเรียนรู้ โดยรวมและรายด้าน คือ ด้านการจำแนกเปรียบเทียบด้านการจัดหมวดหมู่ ด้านการเรียงลำดับ
ความสำคัญ
    การวิจัยครั้งนี้ทำให้ทราบผลของการจัดกิจกรรมโดยใช้รูปปบบพหุปัญญาเพื่อการเรียนรู้ ที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย เพื่อเป็นแนวทางสำหรับครู และผู้ที่เกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาให้กับเด็กปฐมวัย เพื่อส่งเสริมแลัพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
อภิปรายผล
   การวิจัยครั้งนี้มีจุดหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยรวมและรายด้านที่ได้รับการจัดกิจกรรมโดยใช้รูปแบบพหุปัญญาเพื่อการเรียนรู้ ก่อนและหลังการทดลอง การวิจัยพบว่า เด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ภายหลังจากการได้รับการจัดกิจกรรมในระดับดี และเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมโดยใช้รูปแบบพหุปัญญาเพื่อการเรียนรู้มีทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์สูงกว่าการทดลองทุกด้าน
สรุปผลวิจัย
 1. เด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ภายหลังจากการได้รับการจัดกิจกรรมอยู่ในระดับดี
2. เด็กปฐมวัยภายหลังจากการได้รับการจัดกิจกรรมโดยใช้รูปแบบพหุปัญญาเพื่อการเรียนรู้ มีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยรวมและรายด้าน คือการเปรียบเทียบ ด้านการจัดหมวดหมู่

วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บันทีกครั้งที่ 16

                               การเรียนการสอน

วันนี้อาจารย์ให้เพื่อนออกมาสอบสอนต่อ โดยกลุ่มที่สอบสอนวันนี้ มีหน่วย ไข่ กับการทำอาหาร

และกลุ่มที่สอง คือ หน่วยไข่จ๋า มีการยกตัวอย่างคือ นำไข่ของจริงมาประกอบ
เช่น ไข่นกกระทา ไข่ไก่ เป็นต้น

****************************






วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บันทึกครั้งที่ 15


                                         การเรียนการสอน

วันนี้เพืี่่อนได้สอบสอนเป็นกลุ่มแรก อาจารย์ได้อธิบายรายละเอียดของกลุ่มเพื่อนที่สอบสอน ให้เข้าใจ และแนะนำการสอนว่ามีหน่วยไหนที่ต้องแก้ไขปรัปปรุงบ้าง
@เครื่องมือในการเรียนรู้ คือ ภาษาและคณิตศาสตร์ เป็นทักษะที่สำคัญเพื่อจะเรียนรู้ในระดับต่อไป
 หน่วยการเรียนรู้ต่างๆ คือสิ่งที่อยู่รอบตัวเราเป็นวิทยาศาสตร์

- บางหน่วยการเรียนรู้ในหัวข้อ ของเรายังไม่ตรงกัน หน่วยของประเภท มีความสอดคล้องกับ ชนิดและลักษณะ จึงทำให้หน่อย ไม่ค่อยมีความใกล้เคียงกับชื่อหน่วย ต้องไปปรับแก้

       - ในเรื่องประโยชน์และโทษ ของสัตว์ บางครั้งก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับสาระหรืมาตรฐานทางคณิตศาสตร์ เราสามารถปรับโดยการใช้นิทานมาแทนในการสอน                       
      - การจัดระบบความคิดของเด็ก  การบ่งสัตว์ ตามประเภท ชนิด ลักษณะ ตามถินที่อยู่อาศัย
                                    *************************************

วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บันทึกครั้งที่ 14

** อาจารย์ถามถึงเรื่องกิจกรรม ทั้ง 6 กิจกรรม คือ

   - กิจกรรมเสริมประสบการณ์
   - กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ 
   - กิจกรรมเกมการศึกษา
   - กิจกรรมเสรี
   - กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
   - กิจกรรมกลางแจ้ง


** การจัดกิจวัตรประจำวันของเด็ก โดยปกติ จะมี

-เข้าแถว
-เคลื่อนไหว
-ดื่มนม
-ศิลปะ
-เสริมประสบการณ์
-กลางแจ้ง
-กินข้าว
-นอน
-เกมการศึกษา

- อาจารย์ให้นำแผนมานำเสนอโดยการสอนให้เพื่อนๆดูกลุ่มที่ 1 นำเสนอแผนการสอน หน่วยครอบครัว






 

วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556

บันทึกครั้งที่ 13

                        ** การเรียนการสอน


วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาระดมความคิดในการทีนักศึกษาปฐมวัยจะแสดงศักยภาพให้คนอื่นได้เห็นว่าจะแสดงอะไรกันบ้าง

-นิทานเวที
-เล่นดนตรี
-ร้องเพลง
-เล่นเกม
-เล่านิทาน
-รำ
-เต้น
-งานศิลปะ
-เล่นเกม
-นิทรรศการสื่อ

                    แล้วหลังจากนั้นยังแบ่งแยกย่อยไปได้อีกว่าสิ่งที่ทุกคนช่วยกันคิดนั้นใช้สื่อหรือไม่ใช้สื่อ


            ใช้สื่อ                ไม่ใช้สื่อ
                                                                
         -นิทานเวที                     -เต้น
         -ละครเวที                      -ร้องเพลง
         -นิทรรศการสื่อ              -นิทาน
         -ศิลปะ                           -เกม

วันพุธที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2556

บันทึกครั้งที่ 12

 

                                                            เนื้อหาการเรียน

-ส่ง Mind map หน่วยการเรียนรู้ ที่อาจารย์ให้ทำ อาจารย์ดูงานและให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

-อาจารย์สอนเขียนแผนการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยให้สอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้และมาตรฐาน

  แผนการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์



**** งานที่อาจารย์มอบหมาย
-อาจารย์ให้แบ่งกลุ่มเขียนแผนการสอน กลุ่มละ 5 คน ให้เขียนแผนการสอน วันจันทร์- วันศุกร์ โดยดูเนื้อหาและหน่วยจาก มายแม็บที่อาจารย์ให้ทำครั้งที่แล้ว และครั้งหน้าให้ออกมาสอนให้เพื่อนๆดู

วันพุธที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2556

บันทึกครั้งที่ 11

                                                             



                                                                  ***  หมายเหตู ***

 วันนี้เป็นวันครูแห่งชาติ  อาจารย์ให้เข้าไปร่วมกิจกรรมในห้องประชุมศูนย์ครู  ที่ตึกคณะศึกษาศาสตร์



วันพุธที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2556

บันทึกครั้งที่ 10

                        


                                         เนื้อหา/สาระการเรียนการสอน

-อาจารย์สอนการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์พร้อมยกตัวอย่าง
-อาจารย์สอนเรื่องมาตรฐานและการเขียนและการใช้แผนการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์
-อาจารย์สอนเทคนิคการนำเอาสื่อต่างๆ รอบตัวมาประยุกต์ใช้ในการสอน เช่น ปฏิทิน
 
                                                  

- จำนวน  =  วันนี้นักเรียนมากี่คน /ได้เงินมากี่บาท/จำนวนอาคารในโรงเรียน/ราคาข้าวในโรงอาหาร
- การแทนด้วยตัวเลข = เขียน/นำสัญลักษณ์มาวาง

**การสร้างสื่อการสอน   อย่าสร้างให้ยึดติดกับผนัง  ต้องคำนึงถึงประโยชน์ในการใช้




วันพุธที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2556

บันทึกครั้งที่ 9

                                                           การเรียนการสอน ***

เรียนเรื่องมาตรฐาน
สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ
มาตรฐาน ค.ป. 1.1 : เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง


                                 

คุณครูสร้างขึ้นมาเองได้..และเขียนเพิ่มวันที่
ในแต่ละวันจะทำให้เด็กๆรู้และเขียนได้โดย
ที่ไม่ต้องเอาปฏิทินมาวงเพราะจะทำให้เด็กรู้ตัวเลขล่วงหน้าแล้ว
สาระที่ 3 : เรขาคณิต


มาตรฐาน ค.ป. 3.1 : รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง


มาตรฐาน ค.ป. 3.2 : รู้จัก จำแนกรูปเรขาคณิต และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำ


สาระที่ 4 : พีชคณิต


มาตรฐาน ค.ป. 4.1 : เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์


สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น


มาตรฐาน ค.ป. 5.1 : รวบรวมข้อมูลที่เกียวกับตนเองและสิ่งแวดล้อม และนำเสนอ


สาระที่ 6 : ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์