วันพุธที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2555

บันทึกครั้งที่ 8

                                ***    หมายเหตุ   ***

                   
      - ไม่มีการเรียนการสอน  เนื่องจากเป็นการสอบกลางภาค

วันพุธที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2555

บันทึกครั้งที่ 7

                                                            การเรียนการสอน

 - อาจารย์ให้ส่งงานที่สั่งคือกระดาษลังตัดวงกลม

- อาจารย์บอกว่าถ้าจะใช้อย่างอื่นนอกจากกระดาษลัง  แล้วสามารถใช้ประโยชน์แทนกันได้  ถือว่านักศึกษามาความคิดสร้างสรรร
- การใช้กระดาษสีมาติดบนกล่องกระดาษ  ทำให้รูปทรงมีมิติมากยิ่งขึ้น

เนื้อหา/สาระการเรียน การสอน

1. ตัวชี้วัด  = สากล  คุณภาพ  เกณฑ์การประเมิน  เป็นที่ยอมรับ  ตัววัดผล

ในชีวิตประจำวัน  คำว่า มาตรฐาน  อยู่ไหนบ้าง

- การสอน  โรงเรียน  สินค้า
      มาตรฐาน  คือ  ขั้นต่ำของคุณภาพ / เกณฑ์ขั้นต่ำ
- มาตรฐาน  เป็นเรื่องสำคัญมาก
     คณิตศาสตร์/ภาษา  =  เป็นเครื่องมือ ในการเรียนรู้  ในชีวิตของการคิด  การอธิบาย  การสื่อสาร

2. กรอบ = กฎเกณฑ์  ข้อจำกัด  ขอบเขต

- ศัตรูที่ขัดต่อความคิดสร้างสรร คือ  ความเชื่อมั่น
- ปัจจัยที่ขัดต่อความคิดสร้างสรร  คือ  ตัวครู  

กรอบมาตราฐาน  โดย  สสวท.

1.การนับ = เป็นฐานของการบวก
2.การวัด = การใช้เครื่องมือเพื่อหาค่า/ปริมาณ
3.เลขาคณิต = รูปทรงมิติ  เช่น  ทรงกลม
4.พีชคณิตศาตร์ = ความเข้าใจแบบรูป/ความสัมพันธ์
       เช่น  2 4 6 8 ...   เพราะว่ามีแบบรูปเพิ่มมาทีละ 2
การที่จะหาความสัมพันธ์ได้  คือ  การใช้เหตุผล
5.การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น = การรวบรวมข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับจำนวน/ความรู้  แล้วนำเสนอ


งานที่รับมอบหมาย

หารูปที่่มีรูปทรงกลม  แล้ววาดลงกระดาษแข็ง ขนาดเท่ากับA4 เพื่อประดิษฐ์เป็นสื่อ

วันพุธที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2555

บันทึกครั้งที่ 6


                                                      กิจกรรมการเรียนการสอน
 - อาจารย์ให้ไปหยิบกล่องมาคนละ 1 กล่อง ซึ่งกล้องมีสภาพไม่สมบูรณ์ให้เรานำมาประกอบเอง โดยใช้กาวติดกล่องให้เป็นรูปที่สมบูรณ์ และนำกล่องที่นำพับได้ ไปรวมกับของเพื่อน อีก 1 คน
- หลังจากรวมกับเพื่อน 2 คนแล้ว ก็นำไปรวมกับเพื่อนกลุ่มใหญ่ 10 คน ให้ประกอบรวมกันเป็นรูปอะไรก็ได้





- นำสิ่งที่นักศึกษาทำมารวมกันทั้งหมดแล้วสร้างเป็นเมือง




งานที่รับมอบหมาย

 - ตัดกล่องกระดาษ

   เส้นผ่าศูนย์กลาง  1 นิ้ว /1.5 นิ้ว /2 นิ้ว  อย่างละ  3 สี  เขียว  เหลือง  ชมพู
                             

วันพุธที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2555

บันทึกครั้งที่ 5

                            **        ไม่มีการสอนเนื่องจาก หยุด วันพ่อ     **

                


วันพ่อแห่งชาติ 2556 ประวัติความเป็นมาความสำคัญของวันพ่อ      พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (ราชบัณฑิตยสถาน พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 หน้า 587) พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายคำว่า “พ่อ” ไว้ดังนี้      พ่อ หมายถึง ชายผู้ให้กำเนิดแก่ลูก, คำที่ลูกเรียกชายผู้ให้กำเนิดตน     ในทางพุทธศาสนา ได้ให้ความหมายของคำว่า “พ่อ” หมายถึง ชายผู้ให้กำเนิดแก่ลูกมีใช้หลายคำ เช่น              - บิดา (พ่อ)     - ชนก (ผู้ให้กำเนิด)     - สามี (ผัวของแม่) เป็นต้น      วันพ่อแห่งชาติ  5 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทางราชการได้กำหนดให้เป็นวันหยุดราชการหนึ่งวัน เพื่อให้ประชาชนชาวไทย ได้ร่วมกันเฉลิมฉลองในวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและถือเป็นวันพ่อแห่งชาติ อีกวันหนึ่งด้วย       วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหรือวันพ่อแห่งชาติ มีความเป็นมาของวันสำคัญ คือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระราชสมภพเมื่อ วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 ณ โรงพยาบาล เมาท์ ออเบิร์น นครบอสตัน สหรัฐอเมริกา โดยนายแพทย์วิทท์มอร์เป็นผู้ถวายการประสูติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติเป็นรัชกาลที่ 9 แห่งบรมจักรีวงศ์ กรุงรัตนโกสินทร์ ทรงประกอบพระราชกรณียกิจและเจริญพระราชจริยาวัตรเป็นเอนกประการจำเนียรกาลผ่านมาถึงปัจจุบันที่สุดจะพรรณนาให้ครบถ้วนได้ท่ามกลางมหาสมาคมวันพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษกทรงมีกระแสพระราชดำรัสที่ พสกนิกรทุกคนยังจดจำได้ “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม” อันคำว่าโดย “ธรรม” นั้น ทรงหมายถึง ธรรมอันล้ำเลิศที่เรียกว่า “ทศพิธราชธรรม” หรือที่เรียกกันโดยสามัญว่า “ราชธรรม 10 ประการ”      1. ในวันพ่อแห่งชาติเราควรประดับธงชาติไทยที่อาคารบ้านเรือน      2. จัดพิธีศาสนสงฆ์ ทำบุญใส่บาตร อุทิศเป็นพระราชกุศล น้อมเกล้าฯ ถวายพระพรชัยมงคล     3. จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล       วันพ่อแห่งชาติ ได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2523 โดยคุณหญิงเนื้อทิพย์ เสมรสุต นายกสมาคมผู้อาสาสมัครและช่วยการศึกษาเป็นผู้ริเริ่มหลักการและเหตุผลในการจัดตั้งวันพ่อแห่งชาติ พ่อเป็นผู้มีพระคุณที่มีบทบาทสำคัญต่อครอบครัวและสังคม สมควรที่ผู้เป็นลูกจะเคารพเทิดทูนตอบแทนพระคุณด้วยความกตัญญู และสมควรที่สังคมจะยกย่องให้เกียรติรำลึกถึงผู้เป็นพ่อ จึงถือเอาวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปีซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาเป็น “วันพ่อแห่งชาติ” ด้วยพระมหากรุณาธิคุณ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทยอย่างนานัปการ ทรงเป็นพระราชบิดาของพระราชโอรสและพระราชธิดา ทรงรักใคร่และให้ดอกพุทธรักษาเป็นสัญลักษณ์ วันพ่อแห่งชาติทุกบุปผา มาลัยคือใจราษฎร์ ภักดีบาทองค์บพิตรเป็นนิจสินพระ คือ บิดาข้าแผ่นดิน ร่วมร้อยรินมาลัยถวายพระพรลุ 5 ธันวามหาราช “วันพ่อแห่งชาติ” คือองค์อดิศรพระเปี่ยมล้นด้วยเมตตาเอื้ออาทร พสกนิกรเป็นสุขทุกคืนวัน      ด้วยพ่อเป็นบุคคลผู้มีพระคุณ มีบทบาทสำคัญต่อครอบครัวและสังคม สมควรที่ผู้เป็นลูกจะเคารพ เทิดทูน และตอบแทนพระคุณด้วยความกตัญญู และสังคมควรที่จะยกย่องให้เกียรติรำลึกถึงผู้เป็นพ่อนี่เป็นที่มาของการจัดให้มี วันพ่อแห่งชาติ 


วันพุธที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกครั้งที่ 4

กิจกรรมการเรียนการสอน  มีดังนี้

ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัยไว้ดังนี้

1. การนับ เป็น คณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้จัก เป็นการนับอย่างมีความหมาย เช่น การนับตามลำดับตั้งแต่ 1ถึง 10 หรือมากกว่านั้น

2. ตัวเลข เป็นการให้เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็นหรือใช้อยู่ ในชีวิตประจำวัน ให้เด็กเล่นของเล่นเกี่ยว กับตัวเลขให้เด็กได้นับและคิดเอง โดยผู้เลี้ยงดูเด็กเป็นผู้วางแผนจัดกิจกรรม

3. การจับคู่ เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกต ลักษณะต่างๆ และจับคู่สิ่งที่เข้าคู่กัน เหมือนกันหรือ อยู่ประเภทเดียวกัน

4. การจัดประเภท เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกต คุณสมบัติของ สิ่งต่างๆ ว่ามีความแตกต่าง หรือเหมือนกัน ในบาง เรื่อง และสามารถจัดเป็นประเภทต่าง ๆ ได้

5. การเปรียบเทียบ เด็กจะต้องมีการสืบเสาะและอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างของสองสิ่งหรือมากกว่า รู้จักใช้คำศัพท์ เช่น ยาวกว่า สั้นกว่า หนักกว่า เบากว่า

6. การจัดลำดับ เป็นเพียงการจัดสิ่งของชุดหนึ่ง ๆ ตามคำสั่งหรือตามกฎ เช่น จัดบล็อก 5 แท่งที่มีความยาวไม่เท่ากันให้เรียงตามลำดับจากสูงไปต่ำ หรือจากสั่นไปยาง เป็นต้น

7. รูปทรงและเนื้อที่ นอกจากให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องรูป ทรงและเนื้อที่จากการเล่นตาม ปกติแล้ว ผู้เลี้ยงดูเด็กยังต้องจัดประสบการณ์ให้เด็กได้เรียนรู้ เกี่ยวกับ วงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้า ความ ลึกตื้น กว้างและแคบ

8. การวัด มักให้เด็กลงมือวัดด้วยตนเอง ให้รู้จักความยาวและ ระยะ รู้จักการชั่งน้ำหนัก และรู้จักการประมาณอย่างคร่าวๆ ก่อน ที่เด็กจะรู้จักการวัด ควรให้เด็กได้ฝึกฝนการเปรียบเทียบและ การจัดลำดับมาก่อน

9. เซต เป็นการสอนเรื่องเซตอย่างง่าย ๆ จากสิ่งรอบ ๆ ตัว มีการเชื่อมโยงกับสภาพรวม เช่น รองเท้ากับถุงเท้าถือเป็นหนึ่งเซต หรือในห้องเรียนมีบุคคลหลายประเภท แยกเป็นเซตได้ 2 เซต คือ นักเรียน ผู้เลี้ยงดูเด็กประจำชั้น เป็นต้น

10. เศษส่วน ปกติการเรียนเศษส่วนมักเริ่มเรียนในชั้นประถม แต่ผู้เลี้ยงดูเด็กปฐมวัยสามารถสอนได้โดยเน้นส่วนรวมให้เด็กเห็นก่อน การลงมือปฏิบัติเพื่อให้เด็กได้เข้าใจความหมายและมีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับ ครึ่งหรือ ?

11. การทำตามแบบหรือลวดลาย เป็นการพัฒนาให้เด็กจดจำรูปแบบหรือลวดลาย และพัฒนาการจำแนกด้วยสายตาให้เด็กฝึกสังเกต ฝึกทำตามแบบ และต่อให้สมบูรณ์

12. การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ ช่วงวัย 5 ปีขึ้นไป ผู้เลี้ยงดูเด็กอาจเริ่มสอนเรื่องการอนุรักษ์ได้บ้าง โดยให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง เพื่อให้เด็กมีความคิดรวบยอดเรื่องการอนุรักษ์ที่ว่า ปริมาณของวัตถุจะยังคงที่ไม่ว่าจะย้ายที่หรือทำให้มีรูปร่างเปลี่ยนไปก็ตาม
 
เยาวพา เดชะคุปต์ (2542 . 87 - 88) ได้ให้ความสำคัญของขอบข่ายคณิตศาสตร์ระดับปฐมวัย โดยนำเสนอเนื้อหาการสอนคณิตศาสตร์แนวใหม่ที่ครูควรศึกษา เพื่อจัดประสบการณ์ให้กับเด็ก ดังนี้
1. การจัดกลุ่มหรือเซต สิ่งที่ควรสอนได้แก่
1.1 การจับคู่ 1 : 1
1.2 การจับคู่สิ่งของ
1.3 การรวมกลุ่ม
1.4 กลุ่มที่เท่ากัน
1.5 ความเข้าใจเกี่ยวกับตัวเลข
2. จำนวน 1 - 10 การฝึกนับ 1 - 10 จำนวนคู่ จำนวนคี่
3. ระบบจำนวน (Number System) และชื่อของตัวเลข 1 = หนึ่ง 2 = สอง
4. ความสัมพันธ์ระหว่างเซตต่าง ๆ เช่น เซตรวม การแยกเซต ฯลฯ (Union / Operation sets)
5. สมบัติของคณิตศาสตร์จากการรวมกลุ่ม (Properties of Math)
6. ลำดับที่ ความสำคัญ และประโยคคณิตศาสตร์ ได้แก่ ประโยคคณิตศาสตร์ที่แสดงถึงจำนวน ปริมาตร คุณภาพต่าง ๆ เช่น มาก - น้อย สูง - ต่ำ
7. การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เด็กควรสามารถวิเคราะห์ปัญหาง่าย ๆ ทางคณิตศาสตร์ทั้งที่เป็นจำนวนและไม่ใช่จำนวน
8. การวัด (Measurement) ได้แก่ การวัดสิ่งที่เป็นของเหลว สิ่งของ เงินตรา อุณหภูมิ ฯลฯ รวมถึงมาตราส่วนและเครื่องมือในการวัด
9. รูปทรงเรขาคณิต ได้แก่ การเปรียบเทียบรูปร่าง ขนาด ระยะทาง เช่น รูปสิ่งของที่มีมิติต่าง ๆ จากการเล่มเกม และจากการศึกษาถึงสิ่งที่อยู่รอบ ๆ ตัว10. สถิติและกราฟ ได้แก่ การศึกษาจากการบันทึก ทำแผนภูมิ การเปรียบเทียบต่าง ๆ 

เยาวพา เดชะคุปต์ (2542 . 87 - 88)

 

วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกครั้งที่ 3

                                                                 การเรียนการสอน

**  เรียนที่ห้อง 234 อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 3 คนแล้วให้สรุปงานที่แต่ละคนหามาเรื่องเกี่ยวกับคณิตศาสตร์คือ ความหมายคณิตศาสตร์ ทฤษฎีการสอน หลักการสอนและขอบข่าย/เนื้อหาของคณิตศาสตร์

1.ความหมายของคณิตศาสตร์  
2.ทฤษฎีการสอนคณิตศาสตร์
 3.ขอบเขตคณิตศาสตร์ 
4.หลักการสอน 

1.ความหมายของคณิตสาสตร์
                คณิตศาสตร์เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับตัวเลข การคำนวณ ปริมาตร สัดส่วนต่างๆๆ  รวมถึงการคำนวณตัวเลขในชีวิตประจำวัน ที่ใช้ในการคำนวณ มีการใช้สัญลักษณ์ แทนค่า ต่างๆ และคณิตศาสตร์มีโครงสร้างที่แน่ชัด
อ้างอิง
ฉวีวรรณ  กีรติกร.”หน่วยที่ 1 แนวคิดเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ ระดับประถมศึกษา” เอกสารการสอนชุดวิชาการสอนกลุ่ม        ทักษะ 2 (คณิตศาสตร์) หน่วยที่ 1-2.พิมพ์ครั้งที่ 3 อรุณการพิมพ์,2539.
มาร์เชล สโตน
2.ทฤษฎีการสอนคณิตศาสตร์
                เน้นให้ผู้เรียนได้ค้นพบ  และเรียนรู้เรื่องที่ผู้เรียนสนใจ และการเรียนการสอนจะเน้นเชิงพฤติกรรมมากกว่า โดยที่คุณครูจะเน้นแนะนำหรือชี้แจง  คุณครูจะต้องวิเคราะห์พื้นฐานของเด็กแต่ละคน  เพื่อที่จะไปพัฒนาผู้เรียนให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
อ้างอิง
แกญเย
3.ขอบข่าย
                ความรู้เบื้องต้น  เกี่ยวกับ จำนวนเต็มและขั้นตอนของยุคลิก จะรวมถึงเรื่องของการหารลงตัว และเกี่ยวกับคณิตศาสตร์และสถิติ  ซึ่งเป็นเรื่องของสถิติ และการใช้คณิตศาสตร์ทั่วๆไป
อ้างอิง
-ทฤษฎีจำนวน , ชื่อผู้แต่ง ปิยวดี  วงษ์ใหญ่ , เลขเรียกหนังสือ 512.7  36ท ฉ.5
-คณิตศาสตร์และสถิติ Mathematics and statistics , ชื่อผู้แต่ง อาจารย์กิ่งพร  ทองใบ , ปีที่พิมพ์ 2532
4.หลักการสอนคณิตศาสตร์
วิธีการสอนแบบสาธิต
                หมายถึง วิธีการสอนที่ผู้สอนแสดงให้ผู้เรียนดูผู้สอนอาจจะให้ความรู้แก่ผู้เรียนโดยใช้สื่อ การสอนที่เป็นรูปธรรม และผู้เรียนจะได้รับประสบการณ์ตรง

วันพุธที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทีกครั้งที่ 2

                                                                    การเรียนการสอน
-  อาจารย์จ๋าได้ให้กระดาษ A4 มาแบ่งเป็น 4 ส่วน เพื่อแบ่งเพื่อนแล้วในแผ่นกระดาษของนักศึกษา ให้นักศึกษาวาดรูปอะไรก็ได้เป็นการแทนสัญลักษณ์ตัวเองและเขียนชื่อจริงใต้ภาพนั้น

 - อาจารย์สอนวิธีการนับเลขให้ได้จำนวน ให้ได้รู้ค่าตัวเลข ในการมีเลขจำนวน 10 เป็นฐานการนับ
    การเปรียบเทียบตัวเลข 1-10 ทำอย่างไรใช้สัญลักษณ์เพื่อให้เด็กจำให้ได้ เช่น เลข 1 เหมือนเสาธง
    เลข 2 เหมือนตัวเป็ด เป็นต้น เราก็วาดรูปให้เด็กได้ดูเพื่อความสะดวกในการจำ

  สัญลักษณ์แทนตัวเลข

    1 = เสาธง
    2 = คอห่าน
    3 = ตัวหนอน
    4 = หลังคาบ้าน
    5 = แอปเปิ้ลครึ่งลูก
    6 = คนตีลังกาเท้าชี้ฟ้า
    7 = ไม้เท้า
    8 = ไข่ 2 ฟอง
    9 = คนยืนตรง

-อาจารย์ได้ให้งาน โดยไปหาหนังสือคณิตศาสตร์
-จดชื่อหนังสือ

-ผู้แต่ง

-ปีที่พิมพ์

-เลขรหัสหนังสือ

จำนวน 5 เล่ม และใน 5 เล่มนั้น

เลือกมา 1 เล่ม

เอาเลขที่หน้า,บรรณานุกรม,ปีที่พิมพ์,สำนักพิมพ์

ตามหัวข้อดังนี้   

1.ความหมายของคณิตศาสตร์ 

2.ทฤษฎีการสอนคณิตศาสตร์ 

3.ขอบข่าย/เนื้อหาของคณิตศาสตร์ 

4.หลักการสอน



** งาน / การบ้าน
 - หาหนังสือคณิตศาสตร์
 - หาความหมายของคณิตศาสตร์
 - ขอบข่ายของคณิตศาสตร์
 - หลักการสอนทางคณิตศาสตร์

วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกครั้งที่ 1

                               การเรียนการสอน

 

                 - อาจารย์จ๋าได้ตกลงเกี่ยวกับการเข้าห้องเรียนได้เวลา 9 โมงเช้า หลังจาก 9 โมงเช้านั้นถือว่าเป็นการเข้าเรียนสาย และอาจารย์ก็ได้เตือนการแต่งกายของนักศึกษาอย่างถูกระเบียบในการเข้าห้องเรียน
                 - อาจารย์พูดถึงเรื่องการทำบล๊อคว่าควรทำอย่างไรให้ดีกว่าเดิมที่แล้ว การลิงค์สิ่งที่ต้องใส่ในบล๊อค
                 - อาจารย์ให้เขียนความคิดในหัวข้อเรื่อง " คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยคืออะไร ? "
ในความคิดของเรามา 1 ประโยค .
                 - อาจารย์อธิบายคำว่า " สอน " และ " จัดประสบการณ์ " ว่าแตกต่างกันอย่างไร ?


   กิจกรรม 6 กิจกรรมหลัก -.
1. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
2. กิจกรรมเสรี
3. กิจกรรมสร้างเสริมประสบการณ์
4. กิจกรรมการเล่นกลางแจ้ง
5. กิจกรรมเกมการศึกษา
6. กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์

                                                   **********************